กลางเดือน ม.ค. 57 ที่ผ่านมา ครอบครัว 2madames.com ได้ไปเยือนจังหวัดเชียงราย จังหวัดเหนือที่สุดของประเทศไทย
ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นอันยาวนานของปีนี้ ทริปแห่งการตะลอนเที่ยวเชียงราย พร้อมหาที่กินสุดอร่อย บรรยากาศชิลด์ๆ ก็ถือกำเนิดขึ้น
ทริปนี้พวกเราพักกันที่ โพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา Phowadol Resort & Spa
ชิมอาหารร้านสลุงคำ หม่ำข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยวที่ร้านพอใจ นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนานนครเจียงฮาย โดยเที่ยววัดพระสิงห์ วัดพระแก้ว วัดดอยงำเมือง วัดพระธาตุดอยจอมทอง เสาสะดือเมือง 108 หลัก วัดมิ่งเมือง หอนาฬิกา สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
แวะทานเค้กร้านใหม่เอี่ยม Melt in your mouth เช้ากินเกาเหลาจิงจูฉ่าย ที่ร้านสหรส แวะหม่ำซาลาเปาไออุ่น ซื้อของฝากที่ร้านสุจินต์หมูยอ
นั่งชิลด์ริมแม่น้ำที่ชีวิตธรรมดา แวะเที่ยววัดร่องขุน ชิมก๋วยเตี๋ยวโกนงค์ เที่ยวชมไร่บุญรอด Singha Park แล้วไปเที่ยววัดห้วยปลากั้ง
ทั้งหมดนี่คือทริปเชียงรายของพวกเราครับ เชิญรับชมได้เลย
ทริปนี้นอกจากสมาชิกขาประจำอย่างภรรยาและเด็กๆแล้ว ทริปนี้พาอาม่าไปเที่ยวด้วยนะครับ
ถึงสนามบินเชียงรายแล้ว มีบูทปีใหม่อยู่เลย สวยจัง
ที่พักทริปนี้ของพวกเราได้รับเชิญจาก โพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา Phowadol Resort & Spa
โพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา Phowadol Resort & Spa ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแนว Urbanized Lanna
ตัวล็อบบี้ Open air มาฤดูหนาวนั่งชิลด์เลยครับ
มี Shuttle Bus บริการรับส่งไปยัง Night Bazaar และสนามบินด้วย
ห้องพักของครอบครัวสุขสันต์เป็นแบบ Deluxe Cottage ซึ่งเป็นกระท่อมหลังใหญ่ ตั้งอยู่ริมสระบัว
ตัวห้องกว้างขวาง เตียงขนาด King Size มีโต๊ะเขียนหนังสือ โซฟา และตู้เสื้อผ้า
หน้าต่างภาพวาดสวยงาม สามารถเปิดเชื่อมต่อกับห้องน้ำได้
ห้องน้ำไม่คับแคบครับ มีอ่างอาบน้ำด้วย
Mini Bar โดยขนมและน้ำผลไม้เป็น Complementary สำหรับเข้าพักคืนแรกด้วย
ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบโอโซนด้วย
ด้านหน้าบ้านมีม้านั่งไว้สำหรับนั่งเล่นรับอากาศเย็นๆ
ห้องพักแบบนี้จะตั้งอยู่ริมสระบัว
บริเวณโดยรอบของรีสอร์ทขนาด 40 ไร่ เต็มไปด้วยต้นไม้ร่มรื่นดีครับ
มีของเล่นเด็กที่ทำจากไม้เล็กๆน้อยๆ
หนุ่มสาวตัวน้อยสนุกกันใหญ่เลย
สำหรับคนที่พักห้องพักแบบ Cottage Suite จะมีศาลาริมน้ำให้นั่งเล่นนอนเล่นกันด้วย ยิ่งอากาศเย็นๆด้วย สบายทีเดียวครับ
สระว่ายน้ำกว้างใหญ่ดีครับ
บริเวณตึกนี้เป็นห้อง Standard Room ครับ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของ โพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา Phowadol Resort & Spa สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.phowadol.com/
เย็นวันนี้แวะมาทานอาหารกันที่ร้านดัง ร้านสลุงคำครับ
ขอน้ำพริกหนุ่ม ผักนึ่ง แคปหมู อาหารเหนือกันหน่อย
คอหมูย่าง น้ำจิ้มแจ่ว แซ่บสุดๆเลย
วุ้นเส้นผัดไข่เค็มกุ้งสด เมนูแปลกดีไม่เคยทาน ลองสั่งดูแล้วติดใจมาจนบัดนี้เลย
ต้มยำปลาช่อน รสชาติแซ่บมาก เนื้อปลาสดมากครับ
กลับบ้านมาลงเล่นน้ำในอ่างกับลูกสาว อีกหน่อยโตเป็นสาวคงไม่ยอมมาเล่นน้ำกับปะป๊าแบบนี้แล้ว ดังนั้นปะป๊าต้องตักตวงความสุขจากช่วงเวลานี้ให้มากที่สุด
เช้าแล้วจ้า ลูกทัวร์ทุกคนสดชื่นแจ่มใส อากาศเย็นสบายอยู่ประมาณ 16-17 องศา
ทานอาหารเช้ากันที่โรงแรม ก็มีไลน์อาหารเช้าทั่วไปๆ เช่นไส้กรอก หมูแฮม ข้าวผัด ขนมปัง อาหารไทย แกงต่างๆ
Egg station
ขอเติมพลังก่อนนะครับ
มีข้าวต้มสำหรับเด็กๆและอาม่าด้วย
วันนี้เข้ามาในเมืองครับ แวะมาชิมร้านดังอีกร้าน ร้านพอใจ
ที่พลาดไม่ได้เลยคือข้าวซอยครับ อร่อยใช้ได้เลย
ขนมจีนน้ำเงี้ยว ไม่เท่าไหร่ครับ
กินอิ่มแล้ว เราก็มากันที่หลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช เพื่อขึ้นรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนานนครเจียงฮาย
รถรางนี้นั่งฟรีนะครับ โดยเทศบาลนครเชียงราย จัดให้บริการ นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนานนครเจียงฮาย ให้บริการรถรางนำเที่ยวในเขตเทศบาลนครเชียงรายทุกวัน รอบเช้าเวลา ๙.๐๐ น. และ ๙.๓๐ น. รอบบ่ายเวลา ๑๓.๐๐ น. และ ๑๓.๓๐ น. โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ก่อนจะนั่งรถรางแอ่วเมืองจะต้องมาลงทะเบียนและรับบัตรนั่งรถรางก่อนเวลารถรางออก 30 นาที ที่ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงราย อาคารศูนย์ส่งเสริมสินค้าพื้นเมือง ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช รถรางมีทั้งหมด 2 คัน นั่งได้คันละ 28 คน หรือจะติดต่อสอบถามก่อนได้ที่โทร.053-600570 เผื่อว่ารถรางมีการจองล่วงหน้าจากสถานศึกษาหรือบริษัททัวร์ เนื่องจากรถรางมีให้บริการน้อยไม่เพียงพอ จะทำให้เสียเวลาได้……..สำหรับการนั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนานนครเจียงฮาย เป็นการให้บริการนั่งฟรี
โดยจะมีมัคคุเทศก์บรรยายสถานที่แต่ละแห่งให้ฟังด้วย จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ที่จริงจุดแรกที่ต้องแวะคือ หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ แต่วันที่ผมไปเค้าปิดปรับปรุงอยู่ครับ ถ่ายภาพไม่ทัน รถวิ่งเร็ว เลยมาแวะที่จุดต่อมาเลย วัดพระสิงห์ครับ
เป็นอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล เคยเป็นที่ประดิษฐ์พระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันประดิษฐ์อยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
บานประตูออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินล้านนาผู้มีชื่อเสียงแกะสลักไม้เป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ นอกจากนั้นบานประตูยังแกะสลักเป็นรูปสัตว์สี่ชนิด และบ่งบอกความเป็นเพศหญิง เพศชาย ท่านสามารทดสอบสายตาว่ามีสัตว์อะไรบ้างและบานไหนเป็นเพศชาย เพศหญิง
มีพระอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสมัยเชียงแสน
จุดต่อมา คือวัดพระแก้วตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นเก่าแก่ เดิมชื่อว่า วัดป่าเยียะ เป็นป่าไผ่ชนิดหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗ ฟ้าได้ฝ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลงจึงพบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดหนึ่งจึงได้ชื่อว่า “วัดพระแก้ว”
พระอุโบสถของวัดเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง
พระเจ้าล้านทอง ชื่อนี้ได้มาเพราะเดิมเป็นของวัดล้านทอง ซึ่งต่อมาวัดถูกรื้อทิ้งไป จึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง หรือดอยงามเมือง ก่อนจะมาเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504 เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงจากฐานถึงพระรัสมี 2.80 เมตร รอบพระเศียร 1.60 เมตร นั่งขัดสมาธิราบ ยอดพระศกเป็นดอกบัวตูมอยู่ในเปลวเพลิง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือรายพระถัน เม็ดพระศกใหญ่ พระหนุ(คาง)เป็นปมใหญ่และชัดมาก นับเป็นพระพุทธรูปในสกุลช่างศิปปาละที่ใหญ่ และสวยงามที่สุดในประเทศไทย
โฮงหลวงแสงแก้ว เป็นอาคารทรงล้านนาประยุกต์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ เช่นพระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัย
ผลไม้แปลกในภาพคือ “พระเจ้า 5 พระองค์” ครับ ชื่อคงมาจากลักษณะที่มีรอยคล้ายองค์พระจำนวน 5 องค์นั่นเอง
ชื่อน่าจะมาจากคำว่า พระเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ในโลกมนุษย์นี้ ในทางพระพุทธศาสนา จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์ ซึ่ง ในองค์ปัจจุบันนี้คือพระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 มาตรัสรู้
คำว่าพระเจ้าห้าพระองค์ เป็นคำโบราณ มาจาก คาถาพระเจ้าห้าพระองค์เป็นคาถาเรียกกำลัง เมื่อบริกรรมแล้ว จะเสมือนว่า มีพระเจ้าห้าพระองค์สถิตยที่สองแขนสองขา และกระหม่อม เมื่อต่อสู้จะเกิดกำลังวังชาไม่เหนื่อยง่าย บางที่พบว่ามีทางคงกระพันหนังเหนียวด้วย อันว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ มีอยู่สั้นๆ ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” นั่นเอง คาถานะโมพุทธายะนี้ ได้มีการแตกหน่อไปหลายสาขา เช่นกรณีของคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ของหลวงพ่อโสธร บางครั้งมีการใช้เมล็ดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นเครื่องรางของขลังคู่กับคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ ผลพระเจ้าห้าพระองค์มีลักษณะเป็นวงกลมใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อย เป็นเมล็ดแห้งตัน มีร่องขรุขระ ผิวเปลือกนูน ลักษณะคล้ายองค์พระพุทธรูปหรือพระเครื่อง ห้าร่อง หันพระเศียรชนกันที่ตรงศูนย์กลาง จึงเรียกว่า “พระเจ้าห้าองค์” ถือเป็นของขลังที่มีพุทธคุณโดเด่นทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคลาภและโภคทรัพย์อุดมสมบูรณ์ เสริมสิริมงคล และขจัดความชั่วร้ายต่าง ๆ ทำให้แคล้วคลาดจากอันตราย บางคนก็นำเมล็ด พระเจ้าห้าพระองค์ ไปเข้าพิธีปลุกเสกเพิ่มอิทธิฤทธิ์ในทางอยู่ยงคงกระพัน ผลพระเจ้าห้าพระองค์เกิดจากผลบุญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในกัปป์นี้ ดังนี้จึงเป็นผลไม้ที่มีดีทางธรรมชาติ ปกติจะมีเทวดาคุ้มครองเสมอ การนำมาปลูกในบ้านเรือน ต้องนิมนต์พระมาชยันโตด้วย ตาดีๆลองหาลูกที่มี 6 หรือ 4 ตา หายากดี
เจดีย์หลังอุโบสถ
นอกจากนี้ ยังมีหอพระหยก เป็นอาคารทรงล้านนา ภายในประดิษฐานพระหยกเชียงแสน
“ตำนานรัตนพิมพ์วงศ์ กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 เทวดาได้สร้างพระแก้วมรกต ถวายพระนาคเสนเถระที่เมืองปาฎลีบุตร (ปัจจุบันเรียก ปัตนะ) ประเทศอินเดีย ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองลังกา ในสมัยพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ (พระเจ้าอนุรุทธะ) แห่งเมืองพุกามได้ส่งพระสมณทูตไปขอจากเจ้าเมืองลังกา ซึ่งถูกพวกทมิฬรุกราน จึงมอบพระแก้วมรกต และพระไตรปิฏกให้ แต่สำเภาที่บรรทุกพัดหลงไปเกยอยู่ที่อ่าวเมืองกัมพูชา พระแก้ วมรกตจึงตกเป็นของกัมพูชา และต่อมาได้ถูกนำไปไว้ ที่เมืองอินทาปัฐ(นครวัด) กรุงศรีอยุธยา และกำแพงเพชร ตามลำดับ
เมื่อประมาณพ.ศ. 1933 พระเจ้ามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย ได้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมืองกำแพงเพชร และนำมาซ่อนไว้ที่เจดีย์วัดป่าเยียะ เมืองเชียงราย กระทั่ง พ.ศ. 1977 อสนึบาต (ฟ้าผ่า)เจดีย์ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต ต่อมาได้ถูกอัญเชิญไปไว้เมืองต่างๆ ดังนี้
เมืองเชียงราย พ.ศ. 1934-1979
เมืองลำปาง พ.ศ. 1979-2011
เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2011-2096
เมืองลาว พ.ศ. 2096-2321
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2321-ปัจจุบัน”
จุดแวะต่อมาคือ วัดดอยงำเมือง ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง ถนนอาจอำนวย ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังโดยขึ้นบันได ๗๔ ขั้น เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงคราม โอรสพ่อขุนเม็งรายฯ
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากที่ พ่อขุนเม็งรายฯ ได้สวรรคตที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๖๐ พญาไชยสงคราม พระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพแล้ว พระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ จึงกลับมาครองเชียงรายได้อัญเชิญพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายฯ มาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมาเอ ปี พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยาศรรัชฏาเงินกอง ทรงสร้างวัดขึ้น ให้ชื่อว่า วัดงำเมือง และใน พ.ศ. ๒๒๒๐ ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัดโดยเจ้าฟ้ายอดงำเมือง โอรสผู้ครองนครเชียงแสน
เสาไม้แกะสลักสวยมาก
จุดต่อไปมากันที่วัดพระธาตุดอยจอมทองตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ถนนอาจอำนวย ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังอีกครั้งโดยขึ้นบันได ๙๒ ขั้น ตามตำนานกล่าวว่าเป็นบริเวณที่พระยาเรือนแก้ว ผู้ครองนครไชยนารายณ์ ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๓ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวทำให้พระธาตุองค์เดิมพังทลายลง ต่อมาสมัยที่พ่อขุนเม็งรายฯ สร้างเมืองเชียงราย พระองค์จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง บริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทองมี เสาสะดือเมือง ๑๐๘ หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติฐานของจักรวาล
ด้านหลังมีต้นต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งอัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย
จุดต่อมาคือ วัดมิ่งเมือง หรือวัดช้างมูบ เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษรพม่าว่า “วัดตะละแม่ศรี” ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัดมีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรี ทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็งกษัตริย์พม่าเจ้าเมืองพะโค (หงสาวดี) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งรายมหาราชเมื่อทรงชนะสงครามจากพม่า และวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย-พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่งเป็นวีรสตรีของชาวไทยลื้อที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกสู้รบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง เป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานของวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่วัดมิ่งเมืองปีละสองครั้งคือในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวีอุษาปายะโค
มหาเทวีอุษาปายะโค เค้าว่ากันว่า พระนางมีรูปโฉมงามกว่าพระจันทร์รวมกัน 10 ดวง
รถรางขับมาถึงสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ตอนที่ผมไปมีจัดงานเชียงรายดอกไม้งามกันอยู่ พวกเราเลยขอลงรถกันที่นี่เลยครับ
ดอกไม้สีสันสดใส มีเยอะจริงๆ
เอาละ นางแบบนายแบบโพสท่าได้
เค้ามีพร๊อบเป็นมุมถ่ายภาพเยอะมาก
พี่น้องรักกัน
เข้าไปอยู่กลางดงดอกไม้เลย
ครอบครัวสุขสันต์ท่ามกลางสวนดอกไม้จ้า
หลักจากเที่ยวไปหลายที่ จุดหมายต่อมาแวะมานั่งชิลด์ร้านขนมเปิดใหม่อย่าง MELT IN YOUR MOUTH กัน
ตกแต่งได้น่ารักมากๆ
ด้านในมี 2 ชั้นนะครับ
น่านั่งสุดๆ
การได้ใกล้ชิดกับคนที่เรารัก มันช่างมีความสุข น่าเสียดายที่หลายคนหลงทางทำงานเหน็ดเหนื่อย และใช้เวลาหมดไปกับการหาทรัพย์สิน เพียงเพื่อแสวงหาความสุขทางกาย จนลืมคิดไปว่าแท้จริงแล้ว ความสุขนั้นหาไม่ยากเลย แค่อยู่ใกล้ๆกับคนที่เรารักและรักเรา
เพราะ “ความสุขอยู่ใกล้กับความรักเสมอ”
ร้านอยู่ริมแม่น้ำกกพอดีเลย
Brownie สักชิ้นแก้ง่วงเนอะ
บานอฟฟี่กับชาเขียวปั่น
เช้าอีกวันมาแถวๆหอนาฬิกาครับ
มาร้านนี้เลย ร้านสหรส คนแน่น ต่อคิวกินกันเลย
ทีเด็ดร้านนี้คือ เกาเหลาต้มเลือดหมูใส่จิงจูฉ่ายครับ น้ำซุปร้อนๆ คีบหมูมาจิ้มน้ำจิ้มเผ็ดๆกับข้าวสวยร้อนๆ แหม…ฟินมาก
จิงจูฉ่าย แปลว่า ดอกแก้วเมืองจีน มีสรรพคุณทางยามากมาย ดีต่อสุขภาพ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิด โรคกระเพาะ ลำไส้ และไต
ข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม แวะชิมร้านซาลาเปาไออุ่น
แป้งนุ่ม ไส้เยอะใช้ได้
มาซื้อของฝากกันต่อที่ร้านสุจินต์หมูยอ
ร้านนี้ไม่ได้มีแค่หมูยอเหมือนชื่อนะครับ
ที่จริงขายหลายอย่างมาก สอยน้ำพริกหนุ่มแคปหมูกับไปฝากคนที่กรุงเทพ
แวะมาเที่ยวกินชิลด์กันต่อที่ร้านชีวิตธรรมดา
ภายในร้านตกแต่งน่ารักมากครับ มีของให้ถ่ายภาพเยอะแยะไปหมด
ออกมาระเบียงบ้านครับ
บริเวณริมน้ำก็มีสามารถนั่งทานอาหารกันได้ ชิลด์มากบอกเลย
เก็บภาพครอบครัวกันหน่อย
กินครีมบูเล จิบช็อกโกแลตปั่น นั่งอ่านหนังสือในบรรยากาศดีๆ
Honey Toast มาแบ่งกัน