web analytics
ติดตามพวกเราบน Facebook

เพราะ “หัวใจ” เป็นอวัยวะสำคัญพอๆ กับสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะและความรู้สึกนึกคิด หากขาดหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย มนุษย์คงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยความที่ระบบต่างๆ ในร่างกายของคนเราเต็มไปด้วยความซับซ้อน หัวใจจึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สามารถเกิดภาวะต่างๆ ได้มากมาย อย่างหัวใจล้มเหลว ซึ่งทุกคนควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการเอาไว้ เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวได้

หัวใจล้มเหลว,pantip,อาการ,สาเหตุ,วิธีป้องกัน,วิธีรักษา,ดูแลสุขภาพ

หัวใจล้มเหลวคืออะไร

ปกติแล้ว หัวใจเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดดีไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสูบฉีดเลือดเสียกลับไปฟอกยังปอด แต่ผู้ที่มีภาวะนี้จะทำให้อวัยวะสำคัญดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ปกติ ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยเร็วกว่าปกติ รู้สึกอึดอัด หายใจลำบากเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย หรือหายใจติดขัดเวลานอนหงาย มีอาการเวียนหัว ปวดเมื่อยล้าที่กล้ามเนื้อ รวมไปถึงเกิดภาวะน้ำคั่งที่อวัยวะภายในและอาการบวมน้ำ เป็นต้น

หัวใจล้มเหลวอาจมีสาเหตุจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอย่างอื่น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งภาวะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามห้องหัวใจที่มีปัญหา ได้แก่

  • หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว

หัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่ในการลำเลียงเลือดเสียจากร่างกายส่งไปฟอกยังปอด ดังนั้น เมื่อหัวใจห้องนี้ล้มเหลว จะทำให้ของเหลวในร่างกายคั่งจนเกิดอาการบวมที่เท้า รู้สึกแน่นท้อง และอาจทำให้ตับโต

  • หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว

โดยปกติแล้ว หัวใจห้องล่างซ้ายจะมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด รวมถึงอาการเท้าบวม แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะส่งผลกระทบโดยรวมต่อหัวใจทั้งสองด้าน เพราะทุกห้องล้วนทำงานร่วมกัน

วิธีป้องกันความเสี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะนี้เป็นอาการที่เกิดจากความเสี่ยงคล้ายคลึงกันกับโรคหัวใจหรือความดันโลหิต และไม่ได้เกิดเพียงแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่คนที่ยังอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นได้ หากมีภาวะโรคอ้วน ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่จัด หรือมีโรคประจำตัวอย่างอื่น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมีไขมันในเส้นเลือด ดังนั้น วิธีป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่เราสามารถควบคุมได้คือการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารรสจัดเกินไป และตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

เพราะภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดได้กับคนหลากหลายช่วงวัย และแม้จะเป็นภัยเงียบที่บางครั้งไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี

ติดต่อบทความลงโฆษณา คลิ้กที่นี่

Follow

Get every new post delivered to your Inbox

Join other followers:

%d bloggers like this: